บอร์ดสำหรับบุคคลทั่วไป
=> ความรู้ทั่วไป, ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับงานสายอากาศทุกชนิด => ข้อความที่เริ่มโดย: Support th-net ที่ 10 ตุลาคม 2559, เวลา 07:08:36 น.

หัวข้อ: ฝากไฟไปกับสายแลน หรือ POE (Power Over Ethernet)
เริ่มหัวข้อโดย: Support th-net ที่ 10 ตุลาคม 2559, เวลา 07:08:36 น.
ฝากไฟไปกับสายแลน หรือ POE (Power Over Ethernet)


      วันนี้มาเขียนเรื่อง การฝากไฟเลี้ยงอุปกรณ์ไปกับสาย LAN เพราะนับวันการฝากไฟเลี้ยงแบบนี้เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกๆวัน ที่เห็นได้ชัดๆตามออฟฟิศคือไฟเลี้ยงหัวเครื่องโทรศัพท์แบบ IP Phone , Sip Phone อุปกรณ์เน็ตเวิร์คไร้สายต่างๆ เช่น อุปกรณ์ WiFi อุปกรณ์ไร้สายระยะไกล
      ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้สามารถเสียบสายแล้วใช้งานได้ทันที ไม่ต้องมาพะวงเรื่องระบบจ่ายไฟ จึงเป็นที่มาของอุปกรณ์ POE อุปกรณ์แบบนี้เราสามารถสร้างขึ้นใช้เองได้ไม่ยาก ถ้าเราเข้าใจระบบการทำงานของมัน หรือดูภาพอธิบายไปเรื่อยๆ น่าจะพอเข้าใจ




(http://www.thaihotspotnetwork.com/Themes/image-topic/topic-230/01.gif)

1   น่าจะนึกภาพออกครับ ตอนนี้กำลังฮิต ซึ่งพวกวงจรเช่าที่คิดราคาค่าเช่าวงจรที่โคตรแพงมหาโหด เริ่มทำมาหากินไม่ได้แล้วกับระยะทาง 1-30 กม. เพราะสมัยนี้ไวร์เลสที่มีอานุภาพยิงสัญญาณได้ไกลขนาดนี้ สปีดสูงซ๊ะด้วย 54-1,000 Mbps เริ่มแพร่หลายแล้ว หลักๆที่ผมใช้คือยี่ห้อ UBiQUiTi รวมทั้ง TOT, CAT สารพัดค่าย ก็ใช้ยี่ห้อนี้กับเน็ตตามชนบท การติดตั้งตามภาพนี้เลย โดยมีไฟเลี้ยงอยู่ด้านล่างหรืออยู่ในอาคาร




(http://www.thaihotspotnetwork.com/Themes/image-topic/topic-230/02.jpg)

2   ภาพนี้เป็น POE มีตัวอะแดปเตอร์อยู่ร่วมกัน
- ที่ขา 4,5 เป็นไฟเลี้ยงบวก (เคเบิ้ลสี น้ำเงิน , ขาว/น้ำเงิน)
- ที่ขา 7,8 เป็นไฟเลี้ยงลบ (เคเบิ้ลสี ขาว/น้ำตาล , น้ำตาล)




(http://www.thaihotspotnetwork.com/Themes/image-topic/topic-230/03.jpg)

3   หรือนี่เลย เล่นกันแบบลูกทุ่งง่ายๆ ไม่มีหมกเม็ด เห็นการตัดต่อสายไปใช้งานแบบชัดๆ แบบนี้เลยซึ่งผมนำไปใช้กับ Linksys WRT54G ระยะสาย CAT6 ประมาณ 15 เมตร ผลคือไฟไปเลี้ยงไปถึงตัวอุปกรณ์ และอุปกรณ์ทำงาน แต่ตัว WRT54G มองไม่เห็นตัว Router ทำให้ไม่สามารถจ่าย DHCP เครื่องลูกข่ายได้ งามใส้ข้าพเจ้าจริงๆ





(http://www.thaihotspotnetwork.com/Themes/image-topic/topic-230/04.jpg)

4   เอามาให้ดูชัดๆอีกที แต่แรงดันไฟไม่จำเป็นต้อง 48VDC นะครับ แรงดันตรงนี้แล้วแต่อุปกรณ์ปลายทางนะครับ ควรจ่ายให้เท่ากัน เช่นแรงดัน 12VDC , 15VDC , 18VDC , 24VDC




(http://www.thaihotspotnetwork.com/Themes/image-topic/topic-230/05.jpg)

5   ดูไปเรื่อยๆ




(http://www.thaihotspotnetwork.com/Themes/image-topic/topic-230/06.jpg)

6  อีกครั้งครับ
- เคเบิ้ลสี น้ำเงิน , ขาว/น้ำเงิน    เป็นไฟเลี้ยงบวก
- เคเบิ้ลสี ขาว/น้ำตาล , น้ำตาล   เป็นไฟเลี้ยงลบ




[attach=1]

7  ไปเรื่อยๆ ไม่เข้าใจถามนะครับ




(http://www.thaihotspotnetwork.com/Themes/image-topic/topic-230/08.jpg)

8   นี่เลย ต่อตามนี้เลย ยี่ห้อตัวซ้ายมือ Linksys WRT54G แต่ Router ตัวขวาของผมเป็น ZyXEL  อย่างที่บอกตามข้อ 3




(http://www.thaihotspotnetwork.com/Themes/image-topic/topic-230/09.jpg)

9   ถ้าไม่อยากลงมือทำเองแบบข้อ 3,6,7 ก็ซื้ออแดปเตอร์ POE แบบนี้เลย ง่ายดี




(http://www.thaihotspotnetwork.com/Themes/image-topic/topic-230/10.jpg)

10   วงจร POE อีกแบบนึง แบบนี้ใช้กับอุปกรณ์เฉพาะยี่ห้อหรือรุ่นนั้นเลยนะครับ นำไปใช้ผิดรุ่นงานจะเข้านะครับ คืออุปกรณ์ต้นทางและปลายทางจะวอดทั้งคู่




(http://www.thaihotspotnetwork.com/Themes/image-topic/topic-230/11.gif)

11   เอามาลงไว้ช่วยจำครับ ใครเข้าใจแล้วตรงนี้ผ่านไปเลยครับ




(http://www.thaihotspotnetwork.com/Themes/image-topic/topic-230/12.gif)

12   เอามาลงไว้ช่วยจำครับ ใครเข้าใจแล้วตรงนี้ผ่านไปเลยครับ




(http://www.thaihotspotnetwork.com/Themes/image-topic/topic-230/13.jpg)

13   ตัวอย่างชุดทำ POE แบบมีขายสำเร็จ




(http://www.thaihotspotnetwork.com/Themes/image-topic/topic-230/14.jpg)

14   รูปแบบการนำไปใช้




(http://www.thaihotspotnetwork.com/Themes/image-topic/topic-230/15.gif)

15   รูปแบบการนำไปใช้ สำหรับภาพนี้ เป็น SW Hub ที่จ่าย POE ได้ในตัวเลยนะครับ สะดวกดี แต่ราคาก็เป็นเงาตามตัว



ท่านใดไม่เข้าใจต้องถามนะครับ อย่าอ่านอย่างเดียว
(เดี๋ยวนี้คนไทยเริ่มขี้เกียจมากขึ้น ขนาดผมบังคับให้เข้าเว็บ บังคับให้อ่าน ยังเถียงฉอดๆๆๆ น่าเบื่อสำหรับยุคนี้นะ... )










ที่มา...
http://www.gpsteawthai.com/index.php/topic,5618.0.html
http://www.gpsteawthai.com/index.php/topic,428.0.html