สินค้าที่เราผลิต และให้บริการ (เท่านั้น)
=> ตัวอย่างไซต์งานต่างๆ และ งานทดสอบสายอากาศ => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 29 มิถุนายน 2560, เวลา 21:34:50 น.

หัวข้อ: คอยพบกับสายอากาศ slotted waveguide รูปแบบใหม่สำหรับ ในอาคาร & ออกอาคาร
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 29 มิถุนายน 2560, เวลา 21:34:50 น.

คอยพบกับสายอากาศ slotted waveguide รูปแบบใหม่สำหรับ ในอาคาร & ออกอาคาร

วันนี้ผมมีไอเดียใหม่นั่งเขียบแบบสายอากาศตามจั่วหัวกระทู้ คือผลิตสายอากาศแบบแขวนผนัง แขวนข้างฝาได้ ซึ่งเป็นแนวคิดของน้าหวานซีอีโอบริษัทหาลยุคลส์ฯ

โดยจะแบ่งผลิตเป็น 2 กลุ่ม

1. แบบในอาคาร
   แบบในอาคารจะมีการป้องกันสัตว์ไม่ให้เข้าไปอาศัยหรือทำรังในสายอากาศ มีผลทำให้ความไวในการรับ/ส่งสัญญาณถูกลดทอนลง เราจึงพิจารณาติดฟิล์มปิดรูสลอทตลอดแนว ซึ่งการติดฟิล์มก็จะมีผลทำให้ความไวในการรับ/ส่งสัญญาณถูกลดทอนลงไปบ้างเช่นกัน แต่ยังรักษาค่า VSWR หรือ SWR ที่เป็นค่าความเป็นสายอากาศไว้ได้ตลอดเวลา
   ส่วนค่าความไวในการรับ/ส่งสัญญาณที่ลดลงบ้างนั้นมีผลทำให้ได้ระยะทางน้อยลงบ้าง อำนาจทะลุทะลวงลดลงบ้าง เช่นจากกรณีปรกติรับ/ส่งได้ไกล 2 กม. ก็จะลดเหลือ 1.5 กม. ประมาณนี้ครับ

2. แบบนอกอาคาร (สู้แดด สู้ฝน)
    แบบนอกอาคารก็จะเปลือยแบบเดิม เพื่อให้ความไวในการรับ/ส่งสัญญาณไม่ถูกลดทอนรักษาเอกลักษณ์ความแรงของเสาประเภทนี้ไว้ มีอำนาจทะลุทะลวงและไปได้ไกล การชูอยู่บนฟ้ารับแดดที่ร้อนแผดเผายากที่สัตว์จะไปอยู่ เลยเปลือยไว้แบบนี้ดีแล้ว ส่วนเรื่องน้ำฝนและฝนตกจะมีผลระยะสั้นๆที่ไปลดทอนสัญญาณบ้าง เรื่องฝนนั้นมีผลต่อทุกสายอากาศครับอย่าไปวิตกมากไป


สายอากาศทั้งสองแบบ จะมีรูด้านหลังสำหรับแขวนผนังข้างฝาได้เหมือนกันนะครับ มีการผลิตหลายรุ่น มีแบบมินิยาวประมาณ 50 ซม. ด้วยนะ

สำหรับสายอากาศแบบในอาคารสามารถนำไปติดตั้งในออฟฟิศ ในโรงงานได้สวยงามกลมกลืนผนังของท่าน


*** ที่ผ่านมายังไม่พบสัตว์เข้าไปอยู่อาศัยด้านในตัวสายอากาศนะครับ สาเหตุประการนึงที่สัตว์ไม่เข้าไปอาศัยอยู่ก็เนื่องจากสนามแม่เหล็กของกำลังส่งมันส่งสัญญาณออกมาตลอดเวลา ไปรบกวนโสตประสาทของสัตว์ลักษณะคล้ายเครื่องไล่หนู เครื่องไล่แมลงสาบ เครื่องไล่สัตว์ต่างๆ เหล่านี้ใช้คลื่นวิทยุหรือคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้านี่แหละไปทำให้เกิดการรบกวนของโสตประสาทของสัตว์ ทำให้สัตว์ไม่สามารถทนได้ต้องหนีไป แบบนี้ครับ




[attach=1]

รูปการติดฟิล์มประมาณนี้ครับ