บอร์ดสำหรับบุคคลทั่วไป
=> ความรู้ทั่วไป, ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับงานสายอากาศทุกชนิด => ข้อความที่เริ่มโดย: Support (OA) ที่ 26 มิถุนายน 2564, เวลา 16:59:44 น.

หัวข้อ: การทำให้ไอพีต้นทาง และปลายทางเป็นคนละวงกัน จากการทำรีพีทเตอร์ระยะไกลด้วย UBiQUiTi ตระกูลเก่าๆ พวก NanoM / RocketM
เริ่มหัวข้อโดย: Support (OA) ที่ 26 มิถุนายน 2564, เวลา 16:59:44 น.
การทำให้ไอพีต้นทาง และปลายทางเป็นคนละวงกัน
จากการทำรีพีทเตอร์ระยะไกลด้วย UBiQUiTi ตระกูลเก่าๆ พวก NanoM / RocketM


กระทู้นี้จะเน้นการทำให้มีไอพีต้นทางคนละวงกับปลายทาง เพื่อบางครั้งป้องกันการใช้ไอพีชนกัน กับโครงข่ายแลนแบบชาวบ้านที่ไม่ซับซ้อน


และวิธีทำก็ทำแบบชาวบ้านไม่ซับซ้อนเช่นกัน เราทำที่ตัวรีพีทเตอร์ตัวลูกนะครับ จริงๆแล้วนำไปใช้ได้กับโหมด AP ยี่ห้อ ubnt ได้ด้วยนะครับ


กระทู้นี้จะไม่เน้นในช่วงการเซ็ตตอนทำลิ้งค์ให้อุปกรณ์มองเห็นกันนะครับ เพราะมีคนบอกไว้มากมายแล้ว




ด้วยภาพด้านล่างนี้เพียงภาพเดียว จบข่าว....

(http://www.thaihotspotnetwork.com/Themes/image-topic/topic-629/ip1-ip2.jpg)


1. Network Mode: เลือก Router

2. WAN Network Settings
    ชุดนี้เป็นกลุ่มไอพีวงเดียวกับเราเตอร์ต้นทางนะครับ
    2.1 WAN Interface:   เปลี่ยนค่าจาก WLAN0 เป็น BRIDGE0 (เอาไว้ทำโปรแกรมจากต้นทางเข้ามาไอพี ข้อ 3.1)
    2.2 IP Address:   เลือก Static
    2.3 IP Address:   ใส่ไอพีวงต้นทางที่ต้องการ แนะนำไอพีท้ายๆ ป้องกันไอพีชนกันกับไอพีแรกๆ
    2.4 Netmask:    ใส่ 255.255.255.0 ไปตามระเบียบ
    2.5 Gateway IP:    ใส่ไอพีของตัวเราเตอร์ต้นทางที่ออกเน็ต
    2.6 Primary DNS IP:    ใส่ไอพีของตัวเราเตอร์ต้นทางที่ออกเน็ต
    2.7 Secondary DNS IP:   ใส่ไอพีของตัวเราเตอร์ต้นทางที่ออกเน็ต หรือ ไม่ใส่ก็ได้
    2.8 MTU:    ค่าเดิมเป็น 1500
    2.9 NAT:   เลือก Enable
    2.10 NAT Protocol:   เลือกทั้ง 4 ช่อง

3. LAN Network Settings
     ชุดนี้แหละ เป็นไอพีวงใหม่ที่เราต้องการเปลี่ยนไม่ให้ไปซ้ำกับไอพีวงต้นทาง

    3.1 IP Address:    ใส่เลขไอพี Router วงใหม่ตามชอบควรเป็นเลขท้ายๆ
                              (ไอพีนี้ทำหน้าที่เป็น Router วงใหม่ด้วยนะครับ)
    3.2 Netmask:    ใส่ 255.255.255.0
    3.3 MTU:   ค่าเดิมเป็น 1500
    3.4 DHCP Server:  เลือก Enable เพื่อให้มันจ่ายไอพีวงใหม่อัตโนมัติ
    3.5 Range Start:   ใส่เลขไอพีเริ่มต้น ของวงใหม่
    3.6 Range End:   ใส่เลขไอพีสุดท้าย ของวงใหม่
    3.7 Netmask:   ใส่ 255.255.255.0
    3.8 Lease Time:   600 นาทีหรือ 10 ชั่วโมง โหดไป ใส่สัก 60-120 (1-2 ชั่วโมง) ก็พอ
    3.9 Primary DNS IP:    เอาเลขไอพีข้อ 3.1 มาใส่  (ถ้าทดสอบแล้วออกเน็ตได้ ตรงนี้ไม่ใส่ก็ได้ )
    3.10 Secondary DNS IP:    เอาเลขไอพีข้อ 3.1 มาใส่  (ถ้าทดสอบแล้วออกเน็ตได้ ตรงนี้ไม่ใส่ก็ได้ )


Lease Time ตัวนี้สำคัญนะครับ เวลาเราเกาะเน็ตแล้วก็ออกจากวงเน็ตกลับบ้าน จะให้ระบบดีดเราออกจากระบบหลังจากเราไปแล้วเวลาเท่าไร เพื่อให้คนมาทีหลังเกาะได้ เพราะ WiFi มันมีข้อจำกัดในการให้จำนวนคนเข้าไปเกาะนะครับ เช่น wifi ตัวนี้เกาะได้ 16 คน คนที่ 17 จะหมุนติ้วๆ ใครเคยเจอเคสนี้ ก็ให้จำเงื่อนไขนี้ไว้ ว่าคนที่ออกวงไปแล้ว ควรรีบเตะออกไปเลย ไม่ควรให้จองช่องสัญญาณรอเค้ากลับมา




*** ข้อสังเกตุ/คำแนะนำ ไอพีต้นทางที่เป็นเราเตอร์ออกเน็ต ของผมจะใช้ไอพี 192.168.1.254 ผมจะไม่ใช้ไอพีค่าเดิมจากโรงงานคือ 192.168.1.1 เพราะอย่าลืมว่าถ้ามีใครซนไปซื้อเราเตอร์หรือตัวแอคเซสพ้อยมาเสียบในวงแลนเพื่อขยายตัวส่งสัญญาณ wifi

     แน่นอนครับ ท่านจะวอดแน่ๆ  เพราะอย่าลืมว่าไอพีเจ้า 2 สิ่งนี้ ค่าเดิมจากโรงงานเป็น 192.168.1.1 แถมบางตัวไม่ได้ปิด dhcp มาด้วยละก็ดูไม่จืดครับ นอกจากไอพีไปชนเราเตอร์ตัวหลักแล้ว และเจ้าตัวใหม่ดันแจก dhcp แข่งกับเราเตอร์หลักเพราะคิดว่าตัวเองออกเน็ตได้ เครื่องลูกข่ายก็มาเกาะตัวนี้ทำให้ออกเน็ตไม่ได้ ผมเจอมาเยอะมาก ที่ไปแก้ไขตามบ้านแล้วพบสาเหตุ

    ฉะนั้นควรเปลี่ยนไอพีเราเตอร์หลักไปอยู่ท้ายสุดไปก่อน เพื่อไม่ให้ไอพีไปชนกับคนมือซนได้ระดับนึง


    และมีข้อสังเกตุที่อยากจะบอกว่า เวลาเราเกาะ wifi วงใหม่ระบบมันจะแจกไอพีแบบอัตโนมัติ พร้อมไอพีเกตเวย์+ไอพี dns ทำให้สัญญลักษณ์ wifi มุมล่างขวามือ "ไม่แสดงภาพแบบตกใจ" ซึ่งเราก็คิดว่ามันออกเน็ตได้ แต่ที่จริงบางครั้งจะออกเน็ตไม่ได้ถ้าเน็ตวงไอพีต้นทางเดี้ยง



ส่วนการเข้าทำโปรแกรม
    ไม่ว่าเราจะอยู่วงด้านหน้า หรือวงใหม่ สามารถเข้าทำโปรแกรมจากไอพีข้อ 3.1